Slide background
Slide background
Slide background
Slide background
Slide background

บทความประชาสัมพันธ์ การปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไต

โพสต์เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 เวลา 09:43:47 | ประกาศ และประชาสัมพันธ์

  • 70 ครั้ง

#บทความประชาสัมพันธ์ การปลูกถ่ายไต

จากข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่าในปี 2563 มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทั้งหมด 170,774 ราย โดยแบ่งเป็น รักษาโดยการฟอกเลือด(Hemodialysis ) 129,724 ราย ฟอกทางหน้าท้อง(Peritoneal dialysis) 34,467 ราย ปลูกถ่ายไต (kidney transplant) 6,538 ราย และพบว่ามีอัตราการเกิดผู้ป่วยใหม่ใน ปี 2563 19,772 ราย ซึ่งจากสถิติจะพบว่าอัตราการเกิดผู้ป่วยใหม่จะมากขึ้นเรื่อยๆ

โรคไตวายเรื้อรังจัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งสามารถรักษาได้โดยการบำบัดทดแทนไต (kidney replacement therapy,KRT) ประกอบไปด้วย การฟอกเลือด(hemodialysis) ล้างทางหน้าท้อง(peritoneal dialysis) และการปลูกถ่ายไต (kidney tranplant) ซึ่งวิธีการปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาเดียวที่จะช่วยให้ผู้ ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องมาฟอกเลือดเป็นประจำ

⁃ การฟอกเลือด(hemodialysis) เป็นการเอาของเสียออกจากร่างกายผ่านทางการกรองเลือด โดยส่งเลือดเข้าเครื่องฟอกไต ผ่านทางเส้นฟอกไตที่แขนหรือสายฟอกไตชั่วคราวมี่คอหรือสายฟอกไตกึ่ง ถาวรที่อก โดยปกติจะต้องทำการฟอกเลือด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ3-4 ชั่วโมง

⁃ การล้างทางหน้าท้อง (peritoneal dialysis) เป็นนำของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำยา ล้างไตทางช่องท้อง โดยต้องทำการผ่าตัดฝังสายฟอกในช้องท้อง โดยจะทำการล้าง 4-5 ครั้งต่อวัน แต่ สามารถทำการล้างที่บ้านของผู้ป่วยได้

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต(Living donor)ได้แก่ญาติ สายตรงหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และจากผู้บริจาคสมองตาย (deceased donor) ซึ่งจะ จัดสรรโดยสภากาชาดไทย

⁃ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต หลังจากผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมสหสาขาให้สามารถ ผ่าตัดได้ ก็จะทำการผ่าตัดไตจากผู้บริจาคหนึ่งข้างและมาปลูกถ่ายให้กับผู้รับบริจาคโดยผู้บริจาคก็สามารถ ใช้ชีวิตได้ตามปกติแม้จะเหลือไตเพียงข้างเดียว

⁃ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย เมื่อสภากาชาดไทยได้รับแจ้งว่ามีผู้เข้าเกณฑ์การ บริจาคอวัยวะและมีความประสงค์จะบริจาคก็จะแจ้งทีมแพทย์โรงพยาบาลต่างๆให้เตรียมพร้อมออกเดินทาง ไปผ่าตัดรับอวัยวะ(ปัจจุบันมีรพ.19แห่งในกทม.ที่เข้าร่วมเป็นทีมผ่าตัด)เมื่อผ่านขั้นตอนการวินิจฉัยสมองตาย ทางทีมรพ.จะออกเดินทางไปผ่าตัดรับอวัยวะและนำมาให้สภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรค์อวัยวะ ผู้ป่วยที่เข้า เกณฑ์เหมาะสมที่สุดจะได้อวัยวะนั้นไป

ปกติผู้บริจาคหนึ่งคนสามารถจัดสรรค์อวัยวะได้แก่ หัวใจ 1 ราย ตับ 1 ราย ไต 2 ราย ดวงตา 2 ราย แต่ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมและความสมบูรณ์ของอวัยวะผู้ให้บริจาค

จากข้อมูลของสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้บริจาคอวัยวะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยพบว่าเป็นการผ่าตัดจากผู้บริจาคสมอง ตาย 578 ราย การผ่าตัดจากผู้บริจาคมีชีวิต 136 ราย จากข้อมูลศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยล่าสุด 31 กค.2564 มีผู้รอรับบริจาคไต 5,247 ราย เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผ่าตัดได้ในแต่ละปีที่แม้จะเพิ่มจำนวนมาก ขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในฐานะที่เป็นหมอผ่าตัดรับบริจาคอวัยวะและผ่าตัดปลูกถ่ายไตคน หนึ่งก็อยากให้มีผู้บริจาคอวัยวะมากขึ้นเป็นการส่งต่อชีวิตให้ผู้อื่นและเป็นการทำบุญกุศลของผู้ให้บริจาค ครั้งสุดท้ายของชีวิต

…บทความวิชาการโดย…

พ.ต.อ. ขวัญชัย ลาวัลย์วงษ์

นายแพทย์ (สบ4 ) กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ

เรียบเรียงโดย

คณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ

คณะทำงานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลตำรวจ ขออนุญาตเผยแพร่ภาพและข่าวประชาสัมพันธ์ที่มีภาพบุคคลในกิจกรรมดังกล่าว

แชร์ข่าวนี้ :
Top