Slide background
Slide background
Slide background
Slide background

บทความประชาสัมพันธ์ "การรักษาโรคกระดูกพรุนโดยไม่ใช้ยา"

โพสต์เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 เวลา 10:30:01 | ประกาศ และประชาสัมพันธ์

  • 473 ครั้ง

????แคลเซียม : ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี และ หญิงวัยหมดประจำเดือนควรได้รับแคลเซี่ยม 1,000 มก./วัน โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง

โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ และพิจารณาให้แคลเซี่ยมเสริมในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ที่ได้รับแคลเซี่ยมจากอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน

????วิตามินดี : การขาดวิตามินดีในผู้ป่วยกระดูกพรุนมีผลทำให้โรคกระดูกพรุนแย่ ลงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก และมีผลทำให้ประสิทธิภาพการรักษาด้วยยารักษาโรคกระดูกพรุนลดลง

แหล่งของวิตามินดีตามธรรมชาติ ได้มาจาก 2 แหล่งคือ แสงแดดโดยผ่านการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง และจากอาหาร เช่น ไข่ เห็ด เมล็ดถั่ว และปลา เป็นต้น แต่มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ปริมาณวิตามินดีที่ควรได้รับต่อวัน สำหรับคนไทย

คือ 600-800 iu ต่อวันดังนั้นจึงแนะนำให้วิตามินดี เสริมในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนท่ีอาจมีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอ เพื่อให้มีระดับ 25OHD อยู่ที่ 30-50 นก./มล.

????โภชนาการทั่วไป : แนะนำให้รับประทานอาหารสุขภาพรูปแบบใดก็ได้ที่มีสารอาหารครบทั้ง 5หมู่ที่ สามารถปฏิบัติได้จริงในระยะยาวเพื่อรักษาน้ำหนัก และ/หรือ ดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในส่วนของโปรตีนแนะนำให้

รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ (1-1.2 กรัม /กก./วัน ) เพื่อประโยชน์ต่อกระดูก และกล้ามเนื้อโดยแหล่งอาหารโปรตีน

ควรมาจากสัตว์และจากพืชในสัดส่วนท่ีเท่ากัน

????การปรับพฤติกรรม : แนะนำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมตามวัยโดยเน้น การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (weight bearing exercise)

และแบบเพิ่มแรงต้าน (resistance exercise) รวมทั้งการฝึกการทรงตัว (balance exercise) โดยระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ

แนะนำให้หยุดสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1ยูนิต/วัน ในผู้หญิง และ 2 ยูนิต/วัน ในผู้ชาย

????การป้องกันการหกล้ม : แนะนำให้ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มเพื่อแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดการหกล้ม

เช่น การใช้ยานอนหลับ ยาลดความดัน

และสายตาท่ีผิดปกติเป็นต้น รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกบ้านเพื่อลด โอกาสการพลัดตกหกล้ม โดยเฉพาะในห้องนอน ห้องน้ำ ระเบียงและธรณีประตู

ขอบคุณบทความโดย

พ.ต.อ.นพ.ธนวัฒน์ อำพันทรัพย์ นายแพทย์ (สบ 4) กลุ่มงานออโธปิดิกส์ /ประธานศูนย์ความเป็นเลิศโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตำรวจ

คณะทำงานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลตำรวจ ขออนุญาตเผยแพร่ภาพและข่าวประชาสัมพันธ์ที่มีภาพบุคคลในกิจกรรมดังกล่าว

แชร์ข่าวนี้ :
Top